ชมรมรถถีบโบราณจันทบูร..ถีบ-ทุกข์-ทิ้ง-ทั่ว-ถิ่น-ทาง-ไท
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

2 posters

Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 9:53 pm

.............แนวทางการเล่นหาจักรยานโบราณวิเคราะห์เลือกสรรตามหลักสากลของการเล่นหาสะสมรวบรวมไว้ในนี้อย่างพอสังเขปครับ
เบื้องต้นเกี่ยวกับจักรยานโบราณ
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นกูรูมากมาย เพียงอยากช่วยแบ่งภาระงานของท่านประธานบ้าง เพราะท่านแรงเหลือเกิน ในกิจกรรมนี้ ผมเริ่มพิมพ์งานชิ้นนี้ตอนประมาณ 23.45น. ซึ่งเกือบเป็นวันใหม่อยู่แล้ว(คืนวันอาทิตย์ที่เรารวมตัวกันนี่แหละ) ระหว่างที่พิมพ์ ฟังเพลงเก่า ชื่อเพลง”มั่นใจไม่รัก” ของ”รวงทอง ทองลั่นทม” ไปด้วย ผมชอบเพลงเก่า มันสอดคล้องจังหวะจะโคนสวยงามมาก และที่สำคัญภาษาสวยมาก เปรียบได้กับการที่เราเล่นจักรยานโบราณมันละเมียดละไมเหมือนภาษาเพลงของเก่า ในความคิดของผม ไม่มีอะไรหรอกครับแค่อยากนอกเรื่องซักนิด เพราะอยากให้งานชิ้นนี้เหมือนเรานั่งคุยกันไม่ใช่วิชาการอะไร หลายคนคงแปลกใจว่าแนวแบบผม มานั่งฟังเพลงเก่าแบบนี้ ผมชอบเพลงเกือบทุกอย่างแหละครับ เพลงมันสวยงาม เราเข้าเรื่องดีกว่าครับ
อันดับแรกในการเล่นจักรยานโบราณ ณ.ที่นี้ ผมขอเจาะจงเพียงจักรยาน เฟรมสามเหลี่ยมเพชรคว่ำคือจักรยานที่เราถีบกันอยู่นี่แหละครับ(เฟรมคานโค้งก็รวมครับ) เพราะเป็นทรงมาตรฐานและได้รับการคำนวณทางฟิสิกข์มาแล้วเรื่อง การทนแรงกดของน้ำหนักที่มากกว่าน้ำหนักตัวรถได้เป็นร้อยกิโลรวมทั้งสมดุลในการนั่งถีบด้วย เริ่มจะไปไกลแล้วเอาเป็นว่าจักรยานที่เราเห็นทั่วไปแหละครับ เอาเป็นว่าเราละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้วกันถ้ามีใครสงสัยผมจะหาข้อมูลมาเพิ่มให้ ส่วนเรื่องของจักรยานเชิงลึกกว่านี้ พวกล้อโตหรือลึกกว่านั้น ผมจะข้ามไปเพราะไม่เชี่ยวชาญพอ
เบื้องต้นผมจะไม่แยกสัญชาติ จะแยกแค่ลักษณะเบื้องต้นก่อน ผมจะอธิบายแบบมุมกว้าง คือจะให้มองเห็นภาพรวมก่อนค่อยๆตีรายละเอียดเชิงลึกที่หลัง(การแยกสัญชาติ การแยกยี่ห้อ การแยกรุ่น) และต่อไปนี้ผมขอใช้คำว่า”รถ”แทนคำเต็มว่า”รถจักรยานโบราณ” ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน
สิ่งที่เราใช้แยกรถกันโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 2 ประการ ข้อแรกคือ ขนาดวงล้อ ข้อ2 คือแยก เฟรมของรถ และ เฟรมของรถยังแยกลงไปได้อีก เพราะมีการผลิตรถเด็กทั้งชาย และหญิง ตามประเภทการใช้งาน ตลอดจนถึงรถบรรทุก
เรื่องของเฟรม เราแยกได้2แบบ คือรถผู้ชาย รถผู้หญิง แยกได้จากคานกลาง รถชายจะมีคานกลางต่อจากข้อต่อที่ข้อต่อใต้แฮนด์ตรงมาต่อที่ข้อต่อใต้อาน รถหญิงจะเป็นคานโค้ง(หรือตรง) ต่อจากที่ข้อต่อใต้แฮนด์ ลงมาต่อข้อต่อเหนือกะโหลกจานปั่น อย่าเพิ่งคิดว่าผมเอาเรื่องพื้นๆมาเขียนนะครับอันนี้ผมเผื่อถึงผู้ที่เริ่มสนใจเรื่องจักรยานโบราณด้วย
ต่อไปก็คือวงล้อ วงล้อทั่วๆไปที่เห็นกันบ่อยคือล้อ 28 และ26 นิ้ว ของรถเฟรมใหญ่กับรถทรงสปอร์ต แต่จริงๆแล้วรถยังมีวงล้อเล็กอีก คือขนาด 24 22 20 นิ้ว สามขนาดนี้แหละครับที่เค้าเรียกกันว่ารถเด็ก
เริ่มที่พวกล้อ 28 นิ้วก่อน และเริ่มจะลงรายละเอียดลึกขึ้น รถ 28นิ้วเรียกกันว่าขนาดมาตรฐาน(รวมถึง ล้อ26 ด้วยครับ) และคำนี้เองเป็นที่มาของคำว่า “สแตนดาร์ด”ซึ่งแปลว่ามาตรฐาน รถ28 นี้ โดยทั่วไปเป็นเบรกแข็งคือเป็นระบบเบรกรุ่นเก่า นี่แหละที่เป็นเสน่ห์ของมันทำให้แตกต่างจากรถทั่วไป รถ 28 นี้จะมีทั้งที่มีเกียร์และไม่มีเกียร์ (เรื่องเกียร์จะกล่าวถึงในภายหลัง)
รถบรรทุก คือรถ 28 นิ้ว ชายแต่มีคานกลาง 2 คานเรียกว่า คานคู่ (แบบสามคานก็มีนะครับที่เคยเห็นเป็น รถยี่ห้อ”เบนเฮอ”) ถ้าเราสังเกตอีกนิดเรื่องขนาดของรถประเภทนี้แล้ว ยังแบ่งได้ 2 ประเภทอีก คือ ช่วงยาว กับ ช่วงสั้น เฟรม2แบบนี้ ดูจากระยะช่วง ยาวของตะเกียบหลังลองสังเกตกันดูครับ
ส่วนรถบรรทุกอีกประเภท เป็นแบบที่หายากมาก เรียกกันว่า”รถแหนบ” รถแหนบจะมีทั้งคานเดียวและคานคู่ ส่วนมากจะมีแหนบอยู่ใต้อานหรือช่วงตะเกียบหลัง แล้วแต่ในแต่ละยี่ห้อจะออกแบบ รถแหนบเจอมากที่ทางภาคใต้ครับ เพราะเป็นรถที่ถูกนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่
ต่อมา รถสปอร์ต คือพวกวงล้อ 26 นิ้ว ที่มีเกียร์สามเกียร์ กับสี่เกียร์ หรือไม่มีก็พบ (ในตัวมีเกียร์จะเป็นในลักษณะตัวฟูลออฟขั่น) ส่วนมากที่พบจะเป็นเบรกสาย แต่ก็ปรากฏว่าพบ 26 แบบเบรกแข็ง(ส่วนใหญ่จะเป็นรถอังกฤษ) เรื่องของ 26 เบรกแข็งนี้เป็นตัวที่หายากมาก มีหลายคนบอกว่า รถพวกนี้เข้ามากับพวกครูสอนศาสนา หรือมิทชันนรี นำเข้ามาเองจากต่างประเทศ คงสงสัยว่าเราเอารถ 26 ทั่วไปมาใส่เบรกแข็งได้ใหม ตอบว่าได้ครับ แต่ดูออกได้ 26 พวกนี้จะเป็นเฟรม แบบเดียวกับ 28 เพียงแค่ย่อขนาดลง ช่วงตะเกียบหลังจะถอดแยกได้แบบรถ 28 ผมเคยเห็นแท้ๆคันนึงที่ปราจีน เป็น26 หญิงเบรกแข็ง ของกาเซล ถอดเป็นกองอยู่แต่เจ้าของไม่ขาย(ในข้อที่ว่าเรื่องเป็นเฟรมแบบ26หรือแบบ28นั้นยังสรุปไม่ได้ครับในเชิงข้อมูลใหม่) รถ 26 นี่จะเป็นรถที่ทำให้ใช้งานง่าย ปราดเปรียวขึ้น
พวกรถเด็กครับ เริ่มที่ 24 นิ้วก่อน 24 นิ้วนี่ที่พบโดยมากเป็นล้อแบบเติมลมทั่วไป มีบางคนบอกว่ามี 24 ยางตันด้วย รถ 24 เฟรมท่อนหน้าจะเหมือน พวก26 แต่เฟรมท่อนท้ายเป็นแบบ 28 (แบบแพทเทินเฟรมแบบ26ก็พบ) รถพวกนี้ที่พบโดยมากเป็นรถเบรกแข็ง มันดูเหมือนเอา 28 ไปย่อส่วนลงครึ่งต่อครึ่ง ส่วนบังโคลนที่พบโดยทั่วไปจะเป็นบังโคลนแบบ 26 แต่ก็เคยพบที่เป็นบังโคลนแบบ 28 ส่วนที่เป็นเบรกสายเป็นรุ่นปีหลังๆครับ
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 9:56 pm

ส่วนพวก 20 22 นิ้วผมจะไม่เชี่ยวชาญนัก แต่ส่วนใหญ่ที่พบ จะเป็นยางตัน ลักษณะของ 22 นิ้วจะไม่แตกต่างกันนักกับ 24 นิ้ว รถ 20 22 นิ้ว ถ้าเป็นเบรกที่เป็นแบบเบรกสาย ก้ามปูจับขอบ รายละเอียดเป็นแบบรถรุ่นใหม่(ราเล่ห์ทวินตี้) ถ้าเป็นแบบโบราณจะเป็นเบรกแข็ง มีทั้ง2ล้อและ3ล้อ ใน3ล้อ ส่วนมากจะมีมือเบรกล้อหลังข้างเดียว ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมวันหลังผมจะหามาเพิ่มให้ วันนี้คงจบแค่นี้ก่อนครับ นี่ก็ 1.40 น. แล้วครับง่วงแล้ว คราวหน้าผมจะเริ่มแยกสัญชาติแยกยี่ห้อแล้วครับ
ขอบคุณครับ
กระยอดินนรธา
3 ก.พ. 2551
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 10:02 pm

เบื้องต้นเกี่ยวกับจักรยานโบราณ2
คราวที่แล้วเราได้กล่าวถึงลักษณะของจักรยานโบราณในแบบต่างๆโดยสังเขปแล้ว คราวนี้เราจะมากล่าวถึงสัญชาติของจักรยานโบราณบ้างครับ จักรยานโบราณที่พบโดยทั่วไปนั่นผมแบ่งเอย่างที่พบเจอเป็น 2 ภูมิภาค คือฝั่งตะวันตก กับฝั่งตะวันออก ทางฝั่งตะวันตก ในที่นี้จะกล่าวถึงฝั่งยุโรปรวมถึงอเมริกา ส่วนฝั่งตะวันออก จะมี ญี่ปุ่น ไทย อินเดีย จีน เป็นหลัก (พม่าก็มีครับ เป็นรถแบบเฉพาะตัวของเค้ามาก ข้อต่อจะหนา เพลทเป็น รูปสิงห์ (ตัวเหงา) แบบที่พบทั่วๆไปตามหน้าโบสถ์ของทางภาคเหนือของประเทศไทย แต่กลับพิมพ์ชื่อใต้เพลทว่ากิเลน ดูเป็นชาตินิยมดีครับ ทางมาเลเซียเป็นฐานการผลิตของราเล่ห์ ในช่วงยุด70ปลายๆ เราจะมาว่ากันทีหลังว่าเจ้ารถราเล่ห์มาเลเซียนี้หน้าตาเป็นอย่างไร) ผมจะขอกล่าวถึงตระกูลอังกฤษก่อนเป็นอันดับแรก
โดยทั่วไปจักรยานอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 เมืองหลักๆคือ ตระกูล นอร์ทติงแฮม กับ เบอมิงแฮม เมืองอื่นในอังกฤษก็มีครับแต่พบเจอน้อยมากเช่น เมืองแคมบริท ลอนดอน และโครเวนทรี่ เรื่องของ3เมืองที่ว่านี้ผมมีความรู้ค่อนข้างน้อยมาก เท่าที่รู้ก็มี เดรตรอน ของลอนดอน ซึ่งเป็นจักรยานเชิงลึกมากๆ มีการนำเข้ามาโดย เชื้อพระวงศ์ ตลอดจนขุนนาง ในช่วงสมัยรัชกาลที่5 มีหลายท่านเคยบอกว่าเป็นรถที่สร้างและทำเพื่อ ชนชั้นสูงเท่านั้น คล้ายๆกับโรสลอยประมาณนั้น (อันนี้ขอออกตัวว่าเค้าว่ามาเราว่าไปครับ) ส่วน แคมบริด ผมรู้แต่แคมบริท ไบซิเคิล ตัวเดียวและไม่มีข้อมูลตัวนี้เป็นส่วนตัวเลย ส่วนโครเวนทรี่นั้น รู้แค่ยี่ห้อเดียวเช่นกันคือ รัดท์
เรามาเริ่มที่ นอร์ทติงแฮมคือรถตระกูลราเล่ห์ที่เรารู้จักกันอย่างดี รถตระกูลราเล่ห์นี้ เป็นรถที่ขึ้นชื่อด้วยสูตรการผสมโลหะกับคาร์บอน ที่แข็งแกร่ง ในรหัส 2030 ประกอบกับความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาดที่แข็ง ทำให้ราเล่ห์สามารถควบกิจการของบริษัทจักรยานอื่นๆมาได้อย่างมาก บริษัทรถจักยานที่โดนควบคุมกิจการโดยราเล่ห์นั่น มีทั่งรถนอร์ทติงแฮม เบอมิ่งแฮม และโครเวนทรี่ เท่าที่ผมเคยเห็น ก็มี ฮัมเมอร์ (เป็นตัวชูหลักคู่กับราเล่ห์) กาเซล ไทรอัพม์ โรบินฮู้ด อาร์มสตอง บีเอสเอ(เบอมิ่งแฮม) รัดท์(โครเวนทรี่) การที่บริษัทราเล่ห์สามารถควบกิจการได้ มีเหตุผลหลักอยู่ 2ประการ ประการแรก ทางเชิงประเพณีนิยมในยุคนั้น การผลิตทุกชิ้นส่วนต้องออกมาจากโรงงานเดียวกันทั้งคัน เช่น ถ้าเป็น รัดท์ ทุกอย่างที่ประกอบในตัวรถต้องเป็นของรัดท์ ทั้งหมดทำให้เกิดต้นทุนที่สูง ประกอบกับเหตุผลข้อที่2 การตกต่ำของระบบเศรษฐกิจ และปัญหาเรื่องสงครามทางยุโรป ทำให้บริษัทหลายแห่งต้องปิดตัวลงหรือโดนควบกิจการโดยราเล่ห์ ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีระบบ(บางท่านอาจสงสัยว่าเราจะไปรู้อะไรกับมันล่ะ เรารู้แค่ตัวจักรยานก็พอ แต่จะขอแทรกให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงเหตุกับผล ที่มาที่ไป ผมขออกตัวอีกครั้งทุกอย่างที่ผมพิมพ์ให้อ่านเป็นความคิดเห็นโดยส่วนตัวจะผิดถูกยังไงก็ขออภัย ณ.ที่นี้ และอยากจะแทรกความคิดเชิง”สหวิทยาการณ์” ไว้ด้วยว่าทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง มันต้องมีระบบ ที่เกื้อหนุนกัน อย่างแค่เราชมชอบในเรื่องของจักรยานโบราณเพียงแค่นี้ก็ทำให้เราได้รู้ถึงระบบ เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ในมุมกว้างได้ถ้าเรา มองในเชิงของการคิดแบบตรรกศาสตร์ หาที่มาที่ไป ถ้าเราไม่แลอดีต จะไม่เข้าใจปัจจุบัน ที่สำคัญจะมองไม่เห็นอนาคต บริษัทราเล่ห์ เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เป็นผลทำให้ราเล่ห์ยังคงยืนยงมาได้จนถึงยุคของเรา ผมเลยอยากขอแทรกตรงนี้ไว้) ราเล่ห์เป็นบริษัทแรกที่ใช้ระบบแชร์ อะไหล่ และให้บริษัทอื่นผลิตชิ้นงานป้อนตัวเอง ทำให้ไม่ต้องออกแรงการผลิตอย่างเต็มระบบ และสามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น พวกดุมล้อและชุดเกียร์ ราเล่ห์ ให้สเตอร์มี่ อาร์เชอร์ เป็นผู้ผลิตให้ เบาะ กระเป๋าให้บรู๊ค ผลิตให้ ทำให้ลดต้นทุนการผลิตลง และ ที่กล่าวมาสามารถใช้ในรถตระกูลราเล่ห์ ได้ทั้งตระกูล (เว้นในตัวที่ยังผลิตโดยบริษัทของตัวเองอยู่) และจากการที่ราเล่ห์ ควบกิจการทำให้ราเล่ห์ ได้รับ ผลทางการตลาดของบริษัทเหล่านั้นมาด้วย ทำให้ราเล่ห์เพียงแต่เปลี่ยนรถของราเล่ห์ให้เป็นของเพลทของบริษัทเดิมที่ควบกิจการมาได้ และปรับบางจุดให้คงเอกลักษณ์เดิม เช่น จานปั่น รูปทรงของตะเกียบหน้า (ผมคิดว่าจานปั่นแบบพวงมาลัยเรือคงจะเกิดในช่วงนี้ เพราะการทำจานปั่นเป็นแบบต่างๆของแต่ละบริษัทต้นทุนคงเอาการอยู่)ในจุดแข็งข้อนี้ของราเล่ห์ จะเห็นได้ว่าไม่มีบริษัทไหนทำระบบการผลิตเชิงนี้ออกมาเลย เรื่องของยี่ห้อที่อยู่ในการควบคุมของราเล่ห์ ที่เป็นเบอมิ่งแฮม ว่าดูอย่างไรจะขอกล่าวเมื่อถึงรายละเอียด เมื่อเรากล่าวถึงตัวนั้นๆแล้วกันครับ
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 10:04 pm

มาถึงอีกเมืองกันครับ เบอมิ่งแฮม (และ ยี่ห้อในเมืองอื่นๆ เพราะเชื่อว่าในที่กล่าวถึงคงมีเมืองอื่นรวมอยู่ด้วย แต่ผมขอรวมไว้ในตระกูลเบอมิงแฮม ในณ.ที่นี้) ในตระกูลเบอมิ่งแฮมนี้ จะมีรถหลากหลายยี่ห้อมากครับ เราเริ่มจากตัวที่เป็นเบอมิ่งแฮมแท้ๆเลยคือไม่มีการโดนควบกิจการก่อนเท่าที่ผมรู้จักจะมี ฟิลลิป (เป็นเบอมิ่งแฮมที่มีเอเย่นนำมาขายในเมืองไทยเลยค่อนข้างจะเจอบ่อยพอสมควร โดยดั้งเดิมนั้นฟิลลิปเป็นรถสัญชาติโปแลนด์ แต่โดนควบคุมกิจการโดยอังกฤษ) บี.เอส.เอ ซันบีม นิวฮัทสัน (3ตัวนี้มีสายการผลิตจากโรงงานเดียวกัน) เฮอร์คิวลิส นอร์แมน รอยัลแอนฟิล ฮอปเปอร์ เรแนล ดูแนล คอบบร้า เดอะคิงส์ อาร์มสตอง เบลมตั้นและสแตนดาร์ดออฟเบอร์มิ่งแฮม เท่าที่นึกออกและค่อนข้างพบเจอกันบ้าง ในยี่ห้อที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นตัวสุดท้ายสแตนดาร์ดออฟเบอมิ่งแฮม ที่เคยเห็นในรูปถ่ายเป็นของพี่วสันต์ ที่ได้มาจากทางเหนือ และคงยังมีอีกหลายยี่ห้อที่ไม่ได้กล่าวถึง
ในส่วนของอีกกลุ่มที่โดนควบคุมโดยราเล่ห์ อาจมีบางยี่ห้อข้างบนนะครับ ที่อาจจะโดนควบคุมโดยราเล่ห์(แต่ผมไม่ทราบชัดเจนครับ) ที่ต้องแยกไว้แบบนี้ ด้วยประสบการณ์ของตัวเองเคยเกือบซื้อบี.เอส.เอ ที่ผลิตโดยราเล่ห์ ในราคาบี.เอส.เอ แท้ๆ เพราะไม่อยากให้เกิดกับใครอีก เรามากล่าวในกลุ่มนี้ น่าจะมีตัวหลักๆ คงแค่ บี.เอส.เอ. ชื่อเต็มๆคือ เบอมิ่งแฮม สมอล อาร์ม ส่วนอีกตัวคือ รัดท์(โครเวนทรี่) ในส่วนรายละเอียดนั้น ผมจะขอกล่าวถึงเมื่อลงแยกลึกถึงยี่ห้อนั้นๆ
ส่วนประเทศทางยุโรปที่จะกล่าวถึงอีกมีหลักๆอยู่ 3ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน และโปรแลนด์(เป็นประเทศที่มีการพบเจอรถบ้างในประเทศไทย แต่น่าจะยังมีอีกหลายประเทศแต่จะไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่มีความรู้) ขอกล่าวถึงตัวของฝรั่งเศสก่อน ที่พบมากคือยี่ห้อเปอร์โยต์ เป็นยี่ห้อเดียวกับรถยนต์ที่เรารู้จักกันดี ทรงจะค่อนข้างล้ำสมัยคล้ายๆกับจักรยานสมัยปัจจุบัน มีบางตัวที่เป็นอลูมิเนียมทั้งตัว เบรกส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเบรกสาย รถเปอร์โยต์นี้ จะพบมากที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดที่มีชายแดนติดกับลาว ส่วนของ เยอรมัน ที่พบจะเป็นตัวลึกๆเช่น เอ็กต์เฟรม (คานไขว้) ส่วนยี่ห้อของเยอรมันที่รู้จักมี Resolute (ลีโซลตุส ไม่แน่ใจในการสะกดคำนะครับ) และอีกยี่ห้อที่เคยไปประสบพบเจอตัวเป็นๆมาแล้วแต่พลาดหลุดมือไปคือ สแตนดาร์ดเยอรมัน ตอนนั้นยังไม่เชี่ยวชาญครับ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของรถเยอรมันคือมักจะใส่หลักสูบ ไว้แกนหลักอานช่วงด้านหลัง กับ มีการฉลุลายข้าวหลามตัดไว้ตามข้อต่อรถ ส่วนสุดท้ายรถโปรแลนด์ ที่เจอบ่อยจะเป็นเพลทรูปม้าบิน ครับ นอกนั้นไม่รู้เลยครับ ผมขอจบจักรยานทางยุโรปไว้เพียงนี้เพราะข้อมูลที่รู้มีเพียงเท่านี้ ถ้าใครสนใจ จะลองเสิร์จ หาข้อมูลมาให้ในเบื้องหลังครับ
ส่วนประเทศอเมริกาจะแบ่งรถออกเป็น 2 ประเภท คือแบบทรงที่เป็นแบบอังกฤษ คือทรงเพชรคว่ำที่เรารู้จักโดยทั่วไป ในทรงแบบนี้ของทางอเมริกา ผมไม่ค่อยจะรู้จักและคุ้นเคยมากนัก เท่าที่รู้ก็มี โคลัมเบีย กับเมอร์คิวรี่ (ทั้ง2ยี่ห้อญี่ปุ่นก็มี ผมไม่แน่ใจนักว่าจะเป็นผลพวงจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 ที่อาจมีการย้ายการผลิตไปญี่ปุ่น หรือเป็นการเลียนแบบที่ญี่ปุ่นถนัดในยุคแรกของการพัฒนาประเทศหลังสงครามโลก) ส่วนอีกประเภทเป็นการออกแบบแบบอเมริกาเฉพาะตัว ผู้ที่ออกแบบคือ “อาร์โนล ชวินท์” ยี่ห้อที่ผมรู้จักคือ เอ.ซี.อี. ชวินท์ และอินเดียน ฮัฟฟี่ (เท่าที่รู้ เอ.อี.ซี. เป็นบริษัทที่ชวินท์ ออกแบบให้ แต่ไม่แน่ใจว่าตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ชวินท์ หรือความเป็นมาอย่างไร เพราะเท่าที่รู้ ตัว เอ ตัวแรกใน เอ.ซี.อี ย่อมาจาก อาร์โนล) รถทั้ง 3 ยี่ห้อผลิตที่เมือง ชิคคาโก้ เอกลักษณ์ จะเป็นลักษณะ ค่อนข้างคล้ายกับ มอเตอร์ไซด์ ฮาเล่ เดวิดสัน ล้อจะเป็นล้อเล็ก ที่เคยเห็นจะมี 20 24 26 บางตัวจะมีการใส่ถังน้ำมันหลอกบริเวณคานกลาง เบรกจะเป็นแบบปั่นจานถีบถอยหลังเบรก (เบรกสายก้ามปูจับขอบก็มีครับแต่ไม่เก๋าอันนี้แค่ความรู้สึกส่วนตัวผมนะ) เบาะหรืออานจะเป็นทรงยาว แฮนด์มีการแต่งแบบยกสูง รถพวกนี้จะเน้นที่ความเตี้ยของตัวรถ(เฉพาะรถพวกนี้ในยุคหลังๆ) ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจจะนึกภาพออกยากซักหน่อยไว้ผมจะหาภาพมาให้ดูในผู้ที่ไม่เคยเห็น ในรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นลักษณะต้นตระกูลของรถ “โลด์ไรเดอร์” ที่เป็นที่นิยมในหมู่ ฮิปฮอปในปัจุบัน ส่วนอินเดียนโดยภาพรวมแล้วจะคล้ายๆกันครับ
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 10:04 pm

หลังจากที่เรารู้จักรถจักรยานในทางฝั่งตะวันตกกันมาพอสังเขปแล้ว เรามารู้จักรถทางฝั่งตะวันออกคือเอเชียของเรากันบ้าง โดยภาพรวมของรถทางเอเชีย จะเป็นรถที่รับอิทธิพลมาจากทางยุโรป เป็นส่วนมาก โดยมักใช้ชื่อรวมๆกันว่า” สแตนดาร์ด” คำว่าสแตนดาร์ดนี้มีการผลิตในหลายประเทศลักษณะงานก็แตกต่างกันไป ถ้าเป็นของญี่ปุ่น (บางตัวผม) จะมีการตอก เมค อิน เจแปนไว้ใต้กะโหลกจานปั่น ในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงรถที่เป็นยี่ห้อที่ ใช้ชื่อของตัวเองและที่ผมรู้จักเท่านั้นครับ
ผมเริ่มต้นที่ ประเทศไทยที่เรารักก่อนอื่น รถสัญชาติไทย ตัวที่เป็นปัญหาการถกเถียงมากที่สุด คือ ยี่ห้อ “ช้างสามเศียร” เพราะมีหลายฝ่ายบอกว่าเป็นรถที่ทำในประเทศไทยเป็นโครงสแตนดาร์ดทั่วๆไป อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า ช้างสามเศียร คือ รถฟิลลิป ที่มีการนำเข้ามาในช่วงรัชกาลที่6 และมีการสั่งสร้างเพลทรูปช้างสามเศียรมาแทนเพลทเดิมของฟิลลิป ให้เป็นยี่ห้อของประเทศไทย และที่สำคัญที่สุดในกรณีนี้ทั้ง2ฝ่ายมี รถที่เป็นพยานวัตถุ คือ ช้างสามเศียรที่เป็นฟิลลิป และแบบสแตนดาร์ดมายืนยันทั้ง2ฝ่าย ในกรณีนี้ ผมมีสมมุติฐานอยู่2อย่าง สมมุติฐานแรกของผม คือนำภาพรวม ณ.ช่วงเวลานั้น คือ สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเกณฑ์ ใช้ช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่า น่าจะมีการนำรถเข้าในช่วงนั้นมาเป็นการตั้งสมมุติฐาน อันดับแรกเรามารู้จักกันก่อนว่า”ช้างสามเศียร” คืออะไร ความรู้เชิงลึกในข้อนี้ผมยังไม่เคยรีเสิร์จเพิ่มเติม แต่ได้หยิบยกเครื่องหมายที่ว่านี้ ที่ร่วมสมัย ณ.เวลานั้น คือตรา”ไอราพต” คำว่าไอราพตนี้คือ ช้างทรงของพระอินทร์ หรือที่เราค่อนข้างคุ้นเคยในคำว่า “ช้างเอราวัณ” สัญลักษณ์นี้ที่ผมได้หยิบยกขึ้นมาเพราะเป็นตราที่ประทับครั้งแรกบนเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่5 ที่รู้จักกันว่า เหรียญช้างสามเศียรหรือเหรียญหนวด แต่ยังมิได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็พอดีกับเหตุการณ์เสด็จสวรรคต ของ ร.5 ทำให้ตราไอราพต นี้ไปปรากฏอยู่ ด้านหลังเหรียญกษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 แทน ในสมมุติฐานที่ว่านี้ประกอบกับ การที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยในสมัยนั้นยังไม่มีความก้าวหน้าเพียงพอที่จะผลิตจักรยานเองได้ ทำให้ผมเชื่อว่าในช่วงนั้นคงมีบริษัท หรือห้างร้านค้า ที่อาจเป็นของ ราชนิกุลหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ นำจักรยานฟิลลิปเข้ามาขายในสยามประเทศ และอาจได้ขอพระบรมราชานุญาตินำตราไอราพต มาเป็นสัญลักษณ์ของรถแทนสัญลักษณ์ฟิลลิปที่นำเข้ามาขายในสยามประเทศ (มีการวิเคราะห์กันว่าเพลทช้างสามเศียรที่ติดในรถฟิลลิปน่าจะสั่งทำจากอังกฤษ อีกข้อที่สำคัญคงไม่มีคนธรรมดาอยู่ๆเอาตรานี้มาติดสินค้าตนเพราะน่าจะเป็นตราที่สำคัญ) ข้อวิเคราะห์ต่อไปว่าทำไมต้องเปลี่ยนเพลท ในข้อนี้ผมวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น
ในประเด็นแรกอาจเป็นเพราะอยากให้รถฟิลลิป ที่ตนนำเข้ามาดูโดดเด่น และเป็นจุดขายแข่งกับผู้นำเข้ารายอื่น เพราะสมัยนั้นยังเป็นยุคที่เจ้านาย ยังมีศักดิ์และสิทธิ์ อยู่เหนือประชาชนทั่วไปอยู่ และอาจเป็นชาตินิยมหน่อยๆ ประเด็นที่ 2 อาจจะเป็นเรื่องสมัยนิยม เพราะสินค้าหลายอย่างที่ร่วมสมัย ณ. เวลานั้น มีสินค้าหลายชนิดที่แสดงความเป็นไทยไว้บนตัวสินค้าอย่างชัดเจน เช่น นาฬิกาพกและนาฬิกาแขวน(ลอนดอน) ที่เป็นเลขไทย และพิมพ์ภาษาไทยบนหน้าปัด นาฬิกาข้อมือ (มีการนำเข้ามาช่วงแรก) มีอยู่2ยี่ห้อที่พบว่าพิมพ์ เอส.เอ.บี บางกอก ไว้บนหน้าปัด คือโรเล็ค และเซนิธ (ห้างของนาฬิกาทั้งคู่อยู่ที่แยก เอส.เอ.บี) และ รถมอเตอร์ไซด์ที่เป็นที่รู้จักคือ นอร์ตัน ได้มีการติดเพลทไว้ที่ตัวรถ คือ เพลทนาวาพานิช (กรณีของนอร์ตันอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ร่วมสมัยนัก) จะเห็นได้ว่าช่วงนั้น สยามประเทศนิยม การแสดงความเป็นไทย หรือการแสดงความเป็นผู้นำเข้าของสินค้านั้นๆอย่างชัดเจน
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 10:05 pm

สมมุติฐานที่2ของเรื่องช้างสามเศียรที่เป็นรถฟิลลิป ในประเด็นนี้ผมขอข้ามช่วงเวลามาในช่วง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือหลัง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา คือหลังช่วงสมัยของร.6 จนถึง ช่วงการสละราชบัลลังค์ของร.7 มีความห่างกับช่วงแรกไม่น่าจะเกิน40 ปีหรือกว่าเล็กน้อย สมมุติฐานแรกเราใช้แรงจูงใจในตราไอราพต เป็นตัวตั้ง แต่สมมุติฐานหลัง ผมใช้ระบบการปกครองในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการณ์ปกครอง ในช่วงยุคเชื่อผู้นำชาติเจริญ ของท่าน จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นตัวตั้ง(พ.ศ.2482-2489) เพราะในยุคนี้มีการสร้างความเป็นชาตินิยมอย่างเต็มระบบ(ยุคมาลานำไทย) เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลง หลายๆด้านในประเทศไทย เช่น เปลี่ยนสยามเป็นไทย การรณรงค์ให้มีการใส่หมวกออกจากบ้านรวมถึงการแต่งกายอย่างสุภาพ เปลี่ยนระบบการเขียนหนังสือไทย ตลอดจนการควบคุมด้านศิลปวัฒนธรรม ในช่วงนี้จะเป็นไปได้ไหมว่า ผู้ที่นำเข้าฟิลลิปในยุคนั้นจะพยายามนำความคิดเรื่องชาตินิยมมาใส่ไว้ในจักรยานที่ตนนำเข้า โดยมีการเปลี่ยนเพลทเพื่อให้ดูว่าเป็นสินค้าของไทย หรือเพื่อเอาใจผู้นำ ให้เข้ากับสมัยเชื่อผู้นำชาติเจริญ ในข้อนี้เหตุจูงใจในการใช้ตราไอราพตยังไม่สามารถสรุปได้ครับเพราะยังไม่เคยคิดเชิงลึกไปกว่านี้
เรามาถึงเรื่องจักรยานช้างสามเศียรที่เป็น เฟรมสแตนดาร์ดกันมั่งครับ ในข้อนี้ ผมแบ่งเป็นประเด็นหลักๆ2ประเด็น เพราะเท่าที่รู้มีการพบเพลทในตัวจักรยานพวกนี้ประมาณ2แบบ ในประเด็นแรกเป็นตัวที่เพลทงานดี(ใกล้เคียงกับตัวเฟรมฟิลลิป) อาจเป็นบริษัทนำเข้าดั้งเดิมแต่อาจจะมีปัญหาการนำเข้าจักรยานจากต่างประเทศ ประกอบกับอุตสาหกรรมประเทศไทยเองสามารถที่จะผลิตจักรยานใช้ได้เองแล้วในประเทศ เลยทำให้เปลี่ยน สินค้ามาเป็นรูปแบบที่ผลิตใช้ในประเทศเลยเกิดช้างสามเศียรตัวนี้ขึ้นมา ประเด็นถัดมาที่พบเป็นเพลทช้างสามเศียรแบบหยาบๆ ในตัวนี้น่าจะเป็น ตัวที่เลียนแบบมาจากบริษัทข้างต้น (หรืออาจเป็นบริษัทเดิมเปลี่ยนการผลิตเพลท) ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผมจะขอเรียกช้างสามเศียรที่เป็นเฟรมฟิลลิปไว้ว่าเป็น รถสัญชาติไทย เชื้อชาติอังกฤษ ส่วนช้างสามเศียรที่เป็นเฟรมสแตนดาร์ด ขอเรียกเป็นช้างสามเศียรไทยแท้ก็แล้วกันครับ
ผมขอจบเรื่องจักรยานช้างสามเศียรไว้เท่านี้ จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์ใดๆออกมาใหม่ แต่ผมขอออกตัวอีกครั้งว่าผมมิใช่ผู้รู้จริง ในเรื่องของช้างสามเศียรเคยเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันพอสมควร และถกเถียงเพียงแค่ วัตถุพยานที่มีและพบเห็น การที่ผมคิดแบบนี้เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น โดยเอาพยานแวดล้อมและวัตถุร่วมสมัยมากล่าวอ้าง(เป็นรูปแบบที่ผมนำมาใช้บ่อยแต่มันอาจไม่ถูกต้องก็ได้) แค่อยากให้เป็นการเล่นจักรยานในรูปแบบหนึ่ง ไม่จำเป็นว่าเราต้องแสวงหาและได้มาซึ่งวัตถุ แต่เราแสวงหาและได้มาในเชิงความคิดได้เช่นกัน มันเป็นความสุข และประโยชน์นัยหนึ่ง มีบางคนเคยกล่าวว่าถ้าเป็นช้างสามเศียรตัวที่เป็น เฟรมสแตนดาร์ดไม่น่าเล่น แต่ผมว่าน่าเล่นเป็นที่สุดอย่างน้อยก็เป็นตัวแทนหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของไทยที่เราเคยสร้างและ ทำใช้เองได้และต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ เพราะที่กล่าวมาในเรื่องนี้มันค่อนข้างเป็นวิชาการไปนิด ผิดหลักการที่ต้องการให้เป็นแบบ สบายๆเหมือนพูดคุยกัน
เรามาต่อกันที่จักรยานไทยอีก 2 ตัวที่ผมรู้จักครับ (มีอีกหลายตัวครับแต่ขอละไว้เพราะรู้จักเพียงเท่านี้) 2 ตัวที่ผมกำลังจะกล่าวถึงคือ ยี่ห้อ หนุมาน ตราสิงห์ และ เบนเฮอร์ ครับ ใน รถหนุมาน กับตราสิงห์ นี้เฟรมทั่วๆไปก็จะเป็นแบบสแตนดาร์ด แต่เพลทจะเป็นรูปหนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน หาดูยากมาก แค่อยากกล่าวไว้ว่ามันมีจริงเผื่อมีใครไปพบเห็นเข้าเพราะข้อมูลก็มีแต่เพียงนี้ ส่วนเบนเฮอร์ เพลทเป็นรูปม้าเทียมรถศึก เป็นรถที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ยี่ห้อหนึ่ง เอกลักษณ์ ที่สำคัญของเบนเฮอร์ คือจะมีสามคาน โดยเฉพาะตัวผู้หญิงจะมีสามคานตรงครับ โดยปกติจะเป็นคานโค้ง(ในตัวรถ28) ข้อมูลก็มีแต่เพียงคร่าวๆดังนี้ครับสำหรับรถไทย
ต่อที่ประเทศญี่ปุ่นครับ ว่ากันตามจริงแล้วรถญี่ปุ่นมีอยู่มาก ที่มิได้ใช้เพลท สแตนดาร์ด เพียงแต่ผมไม่มีข้อมูลเท่านั้นเอง (ราเล่ห์ที่ผลิตในญี่ปุ่นก็มีครับแต่จะกล่าวถึงตอนที่ว่าด้วยเรื่องราเล่ห์อีกที) ตัวที่ผมรู้จัก มีเพียง 3 ยี่ห้อ คือ โคลัมเบีย เมอร์คิวรี่ (ใน2ตัวนี้ก็พบเป็นรถอเมริกาเช่นกัน) และ มิยาต้า ผมขอกล่าวรวมเรื่องของเมอร์คิวรี่และโคลัมเบียก่อน ในรถทั้ง 2 ตัวนี้เป็นรถที่มีรายละเอียด ค่อนข้างจะดีมาก เพลทของโครลัมเบีย เป็นรูป ตะเกียง (ไม่รู้ไปพ้องหรือเป็นบริษัทเดียวกับตะเกียงโคลัมเบีย ของอเมริกาก็ไม่แน่ใจครับ) ส่วนเมอร์คิวรี่เป็นรูป ตัวเอ็ม เพลทจะไป คล้ายกับ ตัวเอช ของเฮอร์คิวริด เท่ารู้รถทั้ง 2 ตัวถ้าเป็นญี่ปุ่นจะมีการตี เมด อิน เจแปนไว้ใต้กะโหลกจานปั่น (แต่ที่ไม่พบก็มีครับ) ถัดมาในตัวของ “มิยาต้า” ชื่อก็บอกแล้วครับว่าเป็นญี่ปุ่นแน่นอน รถมิยาต้านี้ เท่าที่รู้เคยใช้เป็นรถส่งจดหมายของ กรมไปรษณีย์ในประเทศไทย คิดว่ายี่ห้อนี้คงอาจได้รับการนำมาใช้เพื่อส่ง จม.ในยุคใด ยุคหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่ายุคไหนเพราะเช่นเดิมครับเพราะยังไม่เคยศึกษาเพิ่มเติม
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Mon Mar 16, 2009 10:06 pm

สองประเทศสุดท้ายคืออินเดียและจีน รถในประเทศอินเดียนั้นถ้ากล่าวกันคงยาวมาก เพราะอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ ราเล่ห์ย้ายฐานการผลิตบางส่วนมายังที่นี้ รถในอินเดียที่พบมักจะตีคำว่าเมด อิน อินเดียบนตัวเพลทเลยครับ นัยว่าเหมือนประเพณีของอังกฤษที่เขียนชื่อเมืองไว้บนเพลท ที่รู้จักจริงๆมีตัวเดียวครับ “แชมป์เปี้ยน อินเดีย” (ชื่อแชมป์เปี้ยนก็เป็นอีกชื่อที่ฮิตมากใช้กันหลายประเทศ) ส่วนในจีนนั้น ส่วนใหญ่เป็นสแตนดาร์ด และยังคงมีผลิตกันอยู่ เพลทที่นิยมเท่าที่เห็น คือเพลท”ไลอ้อน” (เพลทรูปไลอ้อนนี้เป็นเพลทอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พบมาในรถสแตนดาร์ดหลายประเทศ พบทั้ง ใน ไทย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย รวมถึงเยอรมันด้วย นัยคงจะทำให้คล้ายๆตรา สิงโต ของฟิลลิป) รถจีนที่เคยพบเป็นเพลท ภาษาจีนเลยก็มีครับ (ตรากิเลนก็มีคนเคยพบ) แต่จะแค่กล่าวให้เป็นความรู้ เพราะไม่เคยศึกษาเช่นเคย ผมขอจบเรื่องแยกสัญชาติไว้เพียงนี้ครับ หมดภูมิแล้ว เรื่องต่อไปคงแยกย่อยยี่ห้อต่างๆ แล้วครับ
ขอบคุณครับ
กระยอดินนรธา
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  เจ้าศรีเกศ Wed Mar 18, 2009 10:25 am

[color=red]สุดยอด..ระดับกูรูเลยนะคะคนอะไรหน้าก็ดี..เก่งก็เก่ง Embarassed [/color]
เจ้าศรีเกศ
เจ้าศรีเกศ

จำนวนข้อความ : 25
Join date : 13/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Wed Mar 18, 2009 11:11 am

เจ้าศรีเกศ พิมพ์ว่า:สุดยอด..ระดับกูรูเลยนะคะคนอะไรหน้าก็ดี..เก่งก็เก่ง Embarassed
ขอบคุณครับที่ชม
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Wed Mar 18, 2009 11:15 am

สังเกตวันที่และเวลาที่เขียนนะครับ คือวันที่ 3 ก.พ. 2551 เวลา 5.45 น. เป็นวันที่ก่อตั้งชมรมรถถีบโบราณจันทบูร นับจากวันยนั้นจนวันนี้แทบไม่น่าเชื่อเลยเราเติบโตกันได้เพียงนี้
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑ Empty Re: เบื้องต้นจักรยานโบราณ๑

ตั้งหัวข้อ  มยุรธุช Thu Mar 19, 2009 5:09 pm

ลืมออกตัวครับ เนื่องจากตอนที่เขียน"เบื้องต้นฯ"ยังไม่จัดเจนพอ ข้อมูลยังไม่ถูกต้องเต็มร้อยคงอยู่ในราวๆ 80อัพ ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดแย่งได้นะครับ.........ขอบคุณครับ
มยุรธุช
มยุรธุช

จำนวนข้อความ : 216
Join date : 05/03/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ